ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
จำนวนเที่ยวบิน
ดัชนีวัดความพึงพอใจผู้โดยสาร
ประสิทธิภาพการตรงต่อเวลา
ที่ 1 ในประเทศไทย
ที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ปฏิบัติการบินสีเขียวประหยัดน้ำมันไปได้
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการการชดเชยและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (CORSIA)
การเช็คอินแบบไร้สัมผัส
โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS)
จำนวนการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงาน
จำนวนข้อพิพาทกับชุมชน/สังคม
ความปลอดภัยในการทำงาน
สถานีเชียงใหม่และสถานีหาดใหญ่ ได้รับประกาศเกียรติคุณ “ระดับต้น” ปีที่ 1 จากกิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ปี 2566
ความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน
โครงการ Journey D
2 โครงการในชุมชนเกาะกลาง จังหวัดกระบี่ และชุมชนดอยผาหมี จังหวัดเชียงราย
เป้าหมายด้านความยั่งยืน
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ตั้งเป้าหมายจากประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายประเด็นสาระสำคัญของบริษัทได้สอดคล้องกับแนวทางเป้าหมายกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย โดยเป้าหมายแบ่งตามประเด็นสาระสำคัญตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และได้ให้ความสำคัญกับเป้าหมาย 9 ข้อดังต่อไปนี้
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง
- สร้างความหลากหลายและไม่แบ่งแยกในที่ทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร โดยคะแนนความพึงพอใจของพนักงาน (eNPS) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
- สนับสนุนและเคารพในสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน ให้ความเท่าเทียมและความปลอดภัยทั้งในด้านสุขภาพ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้แก่กรรมการและผู้บริหาร เกี่ยวกับหลักสูตรด้านบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่
- จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินสถานการณ์จำลอง เช่น กรณีอากาศยานอุบัติเหตุ เที่ยวบินถูกขูู่วางระเบิด หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เป็นต้น
- ให้การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินบนโต๊ะสถานการณ์จำลอง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละสถานีต้องมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80
- ศึกษากฏเกณฑ์ด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคู่ค้าและทำแผนเพื่อนำไปปรับใช้กับการตรวจสอบ
- สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดหา และจัดจ้างที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
- เป้าหมายตัวเลขชี้วัดประสิทธิภาพความตรงต่อเวลา (OTP) อยู่ที่ร้อยละ 90
- ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการบริการผ่านเครื่องมือวัดความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าต่อองค์กรอยู่ที่ร้อยละ 50
- ดัชนีวัดความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของลูกเรืออยู่ที่ร้อยละ 90
- ดัชนีความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ และความสะดวกสบายภายในห้องโดยสารอยู่ที่ร้อยละ 80
- ปรับโครงสร้างและกำลังคนให้เหมาะสม โดยการจัดทำแผนกำลังคนและแผนการสืบทอด
- พัฒนาความผูกพันและการรักษาพนักงานโดยมีอัตราการลาออกโดยสมัครใจ ไม่เกินร้อยละ 5
- จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความรู้ที่จำเป็นในปัจจุบันให้สมดุลระหว่างสายงานและชีวิตส่วนตัวโดยมีเป้าหมายชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อคนต่อปีสำหรับ ทักษะเฉพาะทาง และ 2 ชั่วโมงต่อคนสำหรับทักษะทั่วไป
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อยกระดับห่วงโช่คุณค่าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อปี
เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
- เพิ่มการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจาก Multi-Factor Authentication ภายในบริษัท
- ส่งเสริมการจัดหมวดหมู่เอกสารออนไลน์เพื่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ผ่านการเพิ่มระบบป้ายกำกับออนไลน์
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
- สร้างความหลากหลายและไม่แบ่งแยกในที่ทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร โดยคะแนนความพึงพอใจของพนักงาน (eNPS) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
- สนับสนุนและเคารพในสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน ให้ความเท่าเทียมและความปลอดภัยทั้งในด้านสุขภาพ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
- ดัชนีชี้วัดความสำเร็จด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยได้แก่อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ของพนักงานในบริษัท ไม่เกิน 1.12
- รณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์
- พัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยจำนวนรายงานความปลอดภัยโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
- จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ 2 ครั้งต่อปี เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีพร้อมปฏิบัติงาน
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อยกระดับห่วงโช่คุณค่าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อปี
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
- ลด Carbon Intensity Ratio ปีละ 3 gCO2/RPK ผ่านปฏิบัติการบินสีเขียวและพัฒนาการจัดการตารางบินเพื่อช่วยให้ค่า Carbon Intensity Ratio ลดลงได้ตามเป้าหมาย
- อัตราการรีไซเคิลของขยะไม่อันตรายสถานีดอนเมืองร้อยละ 100
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ลด Carbon Intensity Ratio ปีละ 3 gCO2/RPK ผ่านปฏิบัติการบินสีเขียวและพัฒนาการจัดการตารางบินเพื่อช่วยให้ค่า Carbon Intensity Ratio ลดลงได้ตามเป้าหมาย
เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
- ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้แก่กรรมการและผู้บริหาร เกี่ยวกับหลักสูตรด้านบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่
- จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินสถานการณ์จำลอง เช่น กรณีอากาศยานอุบัติเหตุ เที่ยวบินถูกขูู่วางระเบิด หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เป็นต้น
- ให้การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินบนโต๊ะสถานการณ์จำลอง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละสถานีต้องมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80
- สนับสนุนและเคารพในสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน ให้ความเท่าเทียมและความปลอดภัยทั้งในด้านสุขภาพ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
- เป้าหมายคะแนนความพึงพอใจของพนักงาน (eNPS) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เพิ่มการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจาก Multi-Factor Authentication ภายในบริษัท
- ส่งเสริมการจัดหมวดหมู่เอกสารออนไลน์เพื่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ผ่านการเพิ่มระบบป้ายกำกับออนไลน์
- ศึกษากฏเกณฑ์ด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคู่ค้าและทำแผนเพื่อนำไปปรับใช้กับการตรวจสอบ
- สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดหา และจัดจ้างที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อยกระดับห่วงโช่คุณค่าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อปี