สุขภาพและความปลอดภัย
"ความปลอดภัย" คือสิ่งสำคัญสูงสุดของธุรกิจสายการบิน เพราะในธุรกิจการบินนั้นหากเกิดความผิดพลาดขึ้น จะก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร ลูกค้า และพนักงาน รวมทั้งส่งผลต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นที่มีต่อบริษัทด้วย
สุขภาพและความปลอดภัย
ความมุ่งมั่น
บริษัทมุ่งมั่นในการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่สมรรถนะสูงสุดด้านความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร พนักงาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ความมุ่งมั่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจากนโยบายความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ระบบฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอย่างครอบคลุมแก่พนักงานทุกคน รวมถึงผู้รับเหมา และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย รวมทั้งบริษัทมีการทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
ระบบบริหารด้านความปลอดภัย
บริษัทมีระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยเพื่อปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าทุกเที่ยวบินนั้นปลอดภัยและเชื่อถือได้ ทั้งนี้การจัดการด้านความปลอดภัยทั้งหมดนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสอดคล้องกับนโยบายนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (State Safety Policy) โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบินไทยแอร์เอเชียเป็นผู้ที่รับผิดชอบสูงสุดสำหรับระบบบริหารด้านความปลอดภัย และคณะกรรมการบริหารจะทำการทบทวนข้อมูลประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยที่สำคัญเป็นประจำทุกไตรมาส
ขอบเขตในการดำเนินงานของระบบบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก
นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย
การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
เพื่อสามารถควบคุมความเสี่ยงและจัดการกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้นั้น จะมี 2 ขั้นตอน ด้วยกัน คือ
1. ชี้บ่งอันตราย เพื่อค้นหาและจำแนกลักษณะ ขั้นตอน สาเหตุ และองค์ประกอบของสภาวะที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ และมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ มีการเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ภาวะอันตรายนั้นอย่างเป็นระบบ
2. ประเมินและลดความเสี่ยง นำข้อมูลมาประเมินความเสี่ยงว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้หรือไม่ (Safety Risk Assessment) หากอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สามารถยอมรับได้ก็จะนำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกัน หรือลดความเสี่ยงนั้น (Mitigation) ต่อไป
การส่งเสริมด้านความปลอดภัย
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ตระหนักดีว่าการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยต้องสร้างเสริมและปลูกฝังให้มั่นคง แนบแน่น ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้น จึงมุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติงานได้เข้าใจบทบาทของตนเอง และมีความระแวดระวังในการทำให้เกิดความปลอดภัยอยู่เสมอ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ตามกฎหมายกำหนด เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้ มีความชำนาญ ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้อย่างมืออาชีพ
2. สื่อสารและประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัย จัดกิจกรรมเพื่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อทำความเข้าใจและส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยร่วมกัน
ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย
ในปี 2566 บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ และได้รับความร่วมมือจากพนักงานทั้ง 4,962 คน จากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี โดยมีผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัทตามดัชนีชี้วัด ดังนี้
ดัชนีชี้วัดด้านความปลอดภัยของพนักงาน (SPIs) | 2564 | 2565 | 2566 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | |
ชั่วโมงการทำงาน (ชั่วโมง) | 2,681,784 *จำนวนชั่วโมงการทำงานลดลงเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 | 7,119,580 | 9,446,608 | |||
จำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (ครั้ง) | - | 10 | - | 29 | - | 11 |
อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (ครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 4.96 | 4.17 | 5.51 | 4.49 | 4.04 | 4.45 |
จำนวนการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงาน บจ. ไทยแอร์เอเชีย (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
อัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงาน (ครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 |
อัตราการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.11 |
จำนวนของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (ครั้ง) | - | 5 | - | 8 | - | 11 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากกการทำงาน ต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) (LTIFR) | 1.94 | 2.08 | 1.65 | 1.12 | 1.12 | 1.16 |
ในส่วนอัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณเที่ยวบินและการให้บริการผู้โดยสารที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นถูกนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก รวมทั้งนำมาเป็นกรณีศึกษาสื่อสารกับพนักงานเพื่อเน้นย้ำไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ
ทั้งนี้การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาและผู้ค้าเพื่อเป็นการดำเนินการแก้ไขป้องกันอันตรายจากการทำงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีดัชนีชี้วัด ดังต่อไปนี้
ดัชนีชี้วัดด้านความปลอดภัยของผู้รับเหมา (SPIs) | 2564 | 2565 | 2566 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | เป้าหมาย | ผลลัพธ์ | |
ชั่วโมงการทำงาน (ชั่วโมง) | 1,001,875 | 1,255,639 | 1,779,096 | |||
จำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (ครั้ง) | - | 1 | - | 6 | - | 3 |
อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (ครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 0.80 | 0.42 | 0.28 | 0.93 | 0.84 | 1.05 |
จำนวนการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงาน บจ. ไทยแอร์เอเชีย (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
อัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงาน (ครั้งต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 |
อัตราการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (ครั้ง) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากกการทำงาน ต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน) (LTIFR) | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
ระบบการป้องกันของสายการบิน
บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีระบบการป้องกันด้านความปลอดภัยที่มีกระบวนการทำงานร่วมกัน 3 ระบบอย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อลดความเสียหายและบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน เพื่อทำให้พนักงาน ผู้โดยสาร มั่นใจด้านความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่
ระบบการป้องกัน
ระบบการจัดการคุณภาพ
ระบบการจัดการความปลอดภัย
ระบบการรักษาความปลอดภัย
การจัดการคุณภาพ
มุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องตามกฎระเบียบที่กำหนดเอาไว้ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้โดยสาร รวมถึงระบุความต้องการในการปฏิบัติงานและอันตรายที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน ทั้งนี้การจัดการคุณภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาการดำเนินงานที่สอดคล้องตามระเบียบ และมีการควบคุมให้ตรงกับความต้องการ
การประกันคุณภาพ
มุ่งเน้นคุณภาพก่อนการให้บริการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- กระบวนการพัฒนา
- การตรวจสอบทรัพยากร
- การตรวจสอบการเพื่อประกันความปลอดภัย โดยเฉพาะประสิทธิภาพของการควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
- การทดสอบความสามารถของบุคลากร (รวมถึงผู้ให้บริการภายนอก)
- การทดสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎระเบียบ
กระบวนการประกันความปลอดภัย
มุ่งเน้นส่งเสริมการประกันคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์ ควบคุมเอกสาร การตรวจสอบ และการจัดการการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ในขณะที่การจัดการความปลอดภัย (Safety Management) มุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพความปลอดภัย วัตถุประสงค์ของการจัดการความปลอดภัย คือ สามารถระบุอันตรายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ประเมินความเสี่ยง และดำเนินการควบคุมความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเหตุการณ์
การจัดการความปลอดภัย รวมถึงการประกันความปลอดภัย เช่นเดียวกับการประกันคุณภาพ โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
- ควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
- ระบุความต้องการในการปฏิบัติงาน ปรับปรุง แก้ไขพื้นที่อันตราย และระบบความปลอดภัย รวมถึงการจัดการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน
การรักษาความปลอดภัย
บริษัทพัฒนามาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยทางการบินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การประเมินความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัท และบริษัททดสอบระบบต่างๆ อย่างเข้มงวดตามแผนของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาใดๆ ได้อย่างทันท่วงที
ความปลอดภัยในอาหาร
ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการบนเครื่องบินพร้อมความปลอดภัยด้านอาหาร
ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ และเตรียมอาหารเพื่อป้องกันอันตราย การติดเชื้อ และช่วยให้แน่ใจว่าอาหารที่ให้บริการบนเครื่องบินมีสารอาหารเพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
บริษัทยังคงเฝ้าติดตามและบันทึกความคิดเห็นของผู้โดยสารอยู่เสมอเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าอาหารทุกมื้อปลอดภัยต่อการบริโภคเป็นไปตามมาตรฐานอาหารสากล IFSA และกฎระเบียบด้านอาหารของประเทศปลายทาง เช่น จีน ยุโรป และกฎระเบียบของ องค์การอาหารและยา แห่งราชอาณาจักรไทย
การควบคุมดูแลความปลอดภัยของอาหาร
อาหารบนเครื่องบินได้ให้บริการแก่ผู้โดยสารมากกว่า 3 ล้านมื้อต่อปี ดังนั้น อาหารที่จะส่งถึงมือผู้โดยสารจะต้องปลอดภัยทั้งสี่ด้าน คือ ทางด้านกายภาพ ทางด้านชีวภาพ ทางด้านสารเคมี และด้านสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนด มาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร GHPs (Good Hygiene Practice) และ มาตรฐานระบบวิเคราะห์อันตรายอาหารและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม HACCP (Hazard Analysis Cricital Control Points) ตามมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การ อนามัยโลก (WHO) ปัจจุบันฝ่ายสินค้าและบริการบนเครื่องบิน (In-Flight Service) ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวที่เป็นข้อกำหนดล่าสุดในระดับสากลจากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ ในปี 2566
ภาพรวมกระบวนการทำงาน
ห่วงโซ่อุปทานและปฏิบัติงานในแผนกสินค้าและบริการบนเครื่องบิน
มาตรการรองรับโรคระบาดโควิด-19
บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีแผนการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวและมีมาตรการรองรับในทุกภาคส่วนเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโช่อุปทาน บริษัทได้มีการจัดตั้งคณะปฏิบัติงานพิเศษเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาด รวมทั้งบริษัทได้จัดทำเอกสาร โควิด-19 Operational Guidance Handbook สำหรับฝ่ายปฏิบัติการบินและฝ่ายลูกเรือเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบริหารจัดการ
การป้องกันการติดเชื้อของพนักงาน
ตามที่ได้มีการประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสุขภาพอนามัยของพนักงานและสวัสดิภาพความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวม รวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาด ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรจึงได้มีนโยบายให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรการจากภาครัฐและบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยประกาศแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันส่วนบุคคลและมาตรการเพิ่มเติมให้พนักงานทราบอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างอิงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ
แนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับพนักงาน
ฝ่ายความปลอดภัยได้จัดทำแนวทางในการปฏิบัติตัวของพนักงาน เพื่อสุขอนามัยของพนักงาน และสวัสดิภาพความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวม รวมถึงฝ่ายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรมีนโยบายให้กับพนักงานปฏิบัติตามมาตรการจากภาครัฐและบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยมีประกาศมาตรการเพิ่มเติมให้กับพนักงานทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยอ้างอิงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ
นอกจากนั้น บริษัทขอให้พนักงานทุกมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดจากภาครัฐอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัยในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง