EN / TH

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืน ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของผู้อำนวยการแต่ละแผนกในการควบคุมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนหนึ่งในหน้าที่ของคณะทำงานดังกล่าวคือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ยับยั้งการก่อมลพิษ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักความยั่งยืนเป็นที่ตั้งหลัก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

การจัดการขยะและของเสีย
เป้าหมายระยะสั้น
อัตราการรีไซเคิลขยะ
ร้อยละ
ของน้ำหนักขยะไม่อันตรายทั้งหมดต่อทุกปี

 

อัตราการแยกขยะภายในโครงการแอร์เอเชีย อะคาเดมี
ร้อยละ
ภายในปี 2572
เป้าหมายระยะยาว
ลดปริมาณขยะเสียที่จะนำไปสู่บ่อฝังกลบของสถานีหลักอื่นๆ
ให้เป็นศูนย์
ภายในปี 2593

 

สร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมมือบริหารจัดการขยะให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการทรัพยากรนํ้า
เป้าหมายระยะสั้น
ลดปริมาณการเติมน้ำเฉลี่ยต่อปี
ให้ไม่เกิน
ลิตรต่อหนึ่งเที่ยวบินในประเทศ
เป้าหมายระยะยาว
นำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างน้อย
ร้อยละ
ของน้ำทิ้งทั้งหมด
การจัดการก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมายระยะสั้น
ลด Carbon Intensity Ratio
3gCO2/RPK
ต่อปี

 

ควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ไม่ให้เกิน %
ของปริมาณที่ปล่อยในปี 2562
เป้าหมายระยะยาว
ควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ให้เป็น
ในปี 2593 (Net Zero 2050)
การจัดการพลังงาน
เป้าหมายระยะสั้น
ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟในสำนักงานทุกสถานีที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทให้เป็นหลอดไฟแบบ LED เพื่อประหยัดพลังงานมากขึ้นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ภายในปี 2572
เป้าหมายระยะยาว
ติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรมควบคุมบริหารจัดการระบบต้นกำเนิดพลังงานปรับอากาศขนาดใหญ่ในอาคารแอร์เอเชีย อะคาเดมี เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย
ร้อยละ
ภายในปี 2574

การจัดการขยะและของเสีย

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีความมุ่งมั่นบริหารจัดการขยะที่เกิดจากกระบวนการทำงานและชีวิตประจำวัน การจัดการขยะนั้นถือเป็นพื้นฐานของการกำจัดของเสียขององค์กร บริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะเสีย ที่จะนำไปสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง และสร้างเครือข่ายพันธมิตร ที่ร่วมมือบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

1. การจัดการขยะไม่อันตราย

ของเสียและขยะไม่อันตรายบนเครื่องโดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยขยะที่มาจากอาหารบนเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ภาชนะบรรจุอาหาร และหีบห่อ ซึ่งทำมาจากพลาสติก อะลูมิเนียม และกระดาษ ซึ่งปริมาณขยะได้ถึประมาณ 2.6 แสนชิ้น หรือร้อยละ 33 ของปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ได้มีการจัดจำหน่ายและให้บริการบนเครื่องบิน ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มที่มีการสั่งจองล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

อาหารและสินค้าที่ให้บริการและขายต่อปี
> แสน
เที่ยวบินขาออกที่ขายอาหารและสินค้า
> ล้าน
อาหารที่เน่าเสียได้: การสั่งจองล่วงหน้าและการพาณิชย์
> ล้าน
การบริการอื่นๆ สิ่งอำนวยความสะดวก ชุดช้อนส้อม แก้วน้ำ ถุง และอื่นๆ
> ล้าน
เครื่องดื่ม

ตามข้อกำหนดของ International Catering Waste อาหารที่นำขึ้นสายการบินที่เป็นอาหารสดทั้งหมด ทั้งที่บริโภคแล้ว รวมถึงอาหารที่ยังไม่ได้บริโภคไม่สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นอาหารแห้ง ขยะอาหารที่เกิดจากสายการบินนั้นถูกทำการคัดแยก เช่นเดียวกับขยะประเภทอื่น ซึ่งประกอบไปด้วย พลาสติก อะลูมิเนียม กระดาษ และขยะอื่นๆ โดยฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นมีการส่งต่อขยะในแต่ละเที่ยวบินไปให้ บริษัท เจ.ดี.พี. เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ทำการแยกขยะและส่งต่อไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อ โดยขยะส่วนที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้จะถูกรีไซเคิลกลับไปเป็นพลาสติกและอลูมิเนียม และส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็นอาหารสัตว์และเชื้อเพลิงต่อไป

ผลการดำเนินงานและเป้าหมาย
บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้อัตราการรีไซเคิลขยะร้อยละ 100 ของขยะไม่อันตรายทั้งหมด โดยในปี 2567 บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายโดยมีอัตราการรีไซเคิลขยะไม่อันตรายอยู่ที่ร้อยละ 100 ทำให้ขยะจากสถานีดอนเมืองที่ส่งไปบ่อฝังกลบเป็นศูนย์
บริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายโดยมีอัตราการรีไซเคิลขยะไม่อันตรายอยู่ที่ร้อยละ
บริษัทสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้
ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
ซึ่งเทียบเท่าการปลูกต้นโกงกางจำนวนกว่า
ต้นต่อปี
เทียบเท่าการใช้รถยนต์เชื้อเพลิงเบนซินขนาดถังน้ำมัน 50 ลิตร จำนวน
คัน (อ้างอิงจากเอกสารขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก)

2. การจัดการขยะอันตราย

ขยะอันตรายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการซ่อมบำรุงอากาศยานของบริษัท อันได้แก่ กระป๋องอะลูมิเนียมใส่สารเคมี กระป๋องน้ำมันหล่อลื่น วัสดุอื่นๆ เช่น กาว สารผนึก ถุงมือซ่อมบำรุง หลอดไฟ ฯลฯ ซึ่งบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการของการท่าอากาศยานในการคัดแยก และจัดการทิ้งตามถังขยะในแต่ละประเภทที่การท่าอากาศยานจัดตั้งและระบุไว้ในเขตพื้นที่การบินของสนามบิน โดยในปี 2567 นั้น ได้มีปริมาณขยะอันตรายที่ผ่านการคัดแยก และจัดการทิ้งตามมาตรการของการท่าอากาศยานเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10,696 กิโลกรัม นอกจากนี้ฝ่ายวิศวกรรมได้มีการวิเคราะห์การใช้อุปกรณ์ในแต่ละการซ่อมบำรุงอย่างละเอียด และวางแผนการใช้งานทางโปรแกรม Google Suite เพื่อลดของเสียให้ได้มากที่สุด

ผลการดำเนินงานและเป้าหมาย
ฝ่ายวิศวกรรมได้ทำการวัดประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรการซ่อมบำรุง โดยสามารถลดของเสียที่หมดอายุก่อนการใช้งานได้ 515,134 บาทต่อปี

การบริหารจัดการน้ำ

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทมีการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการใช้น้ำสำหรับการบินในแต่ละเที่ยวบิน นอกจากนั้นยังได้พยายามนำน้ำกลับมาใช้งานซ้ำในกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การบริหารจัดการน้ำสำหรับการปฏิบัติการ

ตั้งแต่ปี 2562 บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ตั้งเป้าหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในงานปฏิบัติการภาคพื้น โดยบริษัทได้วิเคราะห์และประเมินการใช้ทรัพยากรน้ำ จากข้อมูลที่ผ่านมาได้จัดสร้างสถานีผลิตน้ำในสนามบิน ภายใต้กรอบแนวคิดความยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและควบคุมมาตรฐานคุณภาพของทรัพยากรน้ำ และเพื่อลดภาระน้ำหนักเครื่องบินที่ช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่ไม่จำเป็นในแต่ละเที่ยวบินอีกเช่นกัน ทางฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นได้ตั้งเป้าหมายในการจัดการการบริหารน้ำเพื่อการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งจากการลดการเติมน้ำและการใช้น้ำให้เกิดประโยช์สูงสุดในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติการ

ปริมาณการใช้น้ำสำหรับเที่ยวบินในประเทศ (ลิตรต่อเที่ยวบิน) เป้าหมาย 100 ลิตรต่อเที่ยวบิน
(ลิตร)

กลยุทธ์การลดการใช้น้ำ

ฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นโดยได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระยะเวลาเที่ยวบินจากสถานีต้นทางถึงสถานีปลายทางและสถิติการใช้น้ำของผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินที่ผ่านมา เพื่อหาปริมาณการใช้น้ำที่เหมาะสมของแต่ละเที่ยวบินเพื่อนำมาพัฒนาการบริหารจัดการการเติมน้ำในแต่ละเที่ยวบิน โดยบริษัทได้ตั้งเป้าหมายลดการเติมน้ำสำหรับเที่ยวบินในประเทศจากร้อยละ 100 ลงมาให้เหลือไม่เกินร้อยละ 50 ซึ่งเทียบเท่าการเติมน้ำให้ไม่เกิน 100 ลิตรต่อหนึ่งเที่ยวบินในประเทศ จากเดิมที่เติมอยู่ 200 ลิตร ซึ่งจากผลการดำเนินการในปี 2567 ที่ผ่านมาบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายโดยเติมน้ำเฉลี่ยแต่ละเที่ยวบินในประเทศไม่เกิน 100 ลิตร ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้น้ำบนเที่ยวบินในประเทศของปีนี้อยู่ที่ 56.2 ลิตรต่อหนึ่งเที่ยวบิน ทำให้น้ำที่เติมไปนั้นเพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารในการอุปโภคและบริโภค อีกทั้งบริษัทยังสามารถใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมของบริษัทอีกด้วย

การจัดการพลังงาน

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีแผนดำเนินการด้านการจัดการพลังงานโดยการติดตั้งโปรแกรมและอุปกรณ์สำหรับการบริหารจัดการระบบทำความเย็น (Chiller Plant) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของระบบให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานในแต่ละช่วงเวลาและจำนวนผู้ใช้งานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์ และเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมระบบทำความเย็นดังกล่าว โดยโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วที่โครงการแอร์เอเชีย อะคาเดมี