
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการห่วงโช่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสําคัญในการดําเนินกิจการบริษัท การประเมินความเสี่ยงห่วงโช่คุณค่าจึงเป็นสิ่งจําเป็นในการประเมินคู่ค้าเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการดําเนินการของบริษัททั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) บริษัทจึงได้กําหนดนโยบายในการบริหารจัดการห่วงโช่คุณค่า
บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าในการประเมินคู่ค้าตั้งแต่กระบวนการสรรหาคู่ค้าจนถึงผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนคู่ค้าในการดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีการกำกับกิจการที่ดีพร้อม สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณดำเนินธุรกิจของคู่ค้า
หลักจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของคู่ค้า
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ทําการตรวจสอบหลักจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้คู่ค้าของบริษัทเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกําหนดของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทให้ความสําคัญกับมาตรฐานความปลอดภัย การกํากับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณทางธุรกิจ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยหลักจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของคู่ค้าของบริษัทนั้นอ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ความโปร่งใสและการต่อต้านทุจริตความเสมอภาคของคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียไปจนถึงการดูแลรับผิดชอบต่อสังคม และบริษัทมีนโยบายไม่ยอมรับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงาน

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บจ. ไทยแอร์เอเชีย พยายามที่จะสรรหาคู่ค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดหาได้จากกิจการท้องถิ่นหรือในประเทศเพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศ รวมถึงเป็นการลดการปล่อย CO2 ที่เกิดจากการส่งสินค้าจากต่างประเทศ
การซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตภายในประเทศ
มูลค่าการซื้อสินค้าภายในประเทศ
จำนวนผู้ประกอบการภายในประเทศ
ในปี 2567 บริษัทได้มีการจัดซื้อมากกว่าปี 2566 เนื่องจากมีเที่ยวบินที่มากขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยยอดการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 15,000 ล้านบาท จากเดิม 9,529 ล้านบาทในปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าสัดส่วนการซื้อสินค้าจากคู่ค้าภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 89 จากจำนวนคู่ค้าทั้งหมด
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญในประเทศและนอกประเทศของบริษัท
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและตรวจประเมินคู่ค้าที่สำคัญด้าน ESG
การประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้า
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้รวมเอาเกณฑ์ความยั่งยืนมาใช้ประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าเป็นไปตามมาตรฐานการดําเนินธุรกิจของบริษัท
บริษัทมีขั้นตอนในการประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้าเป็นประจําทุกๆ ปี โดยใช้ตัวชี้วัดที่ตั้งบนพื้นฐานของมาตรฐานการทํางานของคู่ค้า มีดังนี้
ความคุ้มค่าของสินค้าและบริการ
คุณภาพของสินค้าที่ได้รับ
ความตรงต่อเวลาในการส่งมอบสินค้า
การตอบสนองของคู่ค้า
การใช้นวัตกรรม
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สุขอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และความยั่งยืน
คู่ค้าด้านวิศวกรรมและซ่อมบํารุง
บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีจำนวนคู่ค้า ผู้จัดหาชิ้นส่วนและเครื่องมือรวมถึงหน่วยซ่อมบํารุงอากาศยานจํานวนทั้งสิ้น 106 ราย ซึ่งทั้งหมดได้ผ่านการประเมินกฏเกณฑ์ที่กําหนด เช่น ผ่านมาตรฐานอากาศยาน (Aviation Grade) และได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล ได้แก่ European Union Aviation Safety Agency (EASA), Federal Aviation Administration (FAA) หรือสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ชิ้นส่วนทั้งหมดที่จัดหาให้กับบริษัทจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต
โดยบริษัทมีการประเมินคู่ค้าผู้ผลิตอากาศยานตามที่กําหนด โดยมีการประเมินคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตและตัวแทนจําหน่าย ทุกๆ 1 ปี ตามเกณฑ์การประเมินเพื่อวัดประสิทธิภาพของคู่ค้า เช่น มาตรฐานความถูกต้องของสินค้า ความเร็วในการจัดส่ง ราคาสินค้า และอื่นๆ

จำนวนคู่ค้าด้านวิศวกรรมและซ่อมบำรุงทั้งหมด
จำนวนคู่ค้าด้านวิศวกรรมและซ่อมบำรุงทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ความปลอดภัยด้านอาหาร
สำหรับความปลอดภัยด้านอาหาร คู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องมีนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผ่านมาตรฐาน GHP/HACCP ซึ่งในข้อกําหนดจะมีความสอดคล้องเรื่องการลดปริมาณน้ำเสียและของเสียจากกระบวนการผลิต ลดปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต เป็นต้น
รวมถึงการทบทวนข้อมูลจากการตรวจสอบคู่ค้าก่อนดําเนินการซื้อขายเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่จัดเตรียมโดยบริษัทนั้นมีความปลอดภัยและคุณภาพ
การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าอาหารและจัดกลุ่มคู่ธุรกิจอาหารตามความเสี่ยง
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ประเมินความเสี่ยงและจัดกลุ่มธุรกิจคู่ค้าเป็นประจําทุกปี เพื่อจัดความถี่ในการเข้าไปตรวจประเมิน โดยทางบริษัทจะเข้าไปตรวจประเมินสําหรับคู่ค้าที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง
ประเภทความเสี่ยงของคู่ธุรกิจอาหารตามประเภทผลิตภัณฑ์
คู่ค้าด้านอาหารที่มีความเสี่ยงสูง
คู่ค้าด้านอาหารที่มีความเสี่ยงปานกลาง
คู่ค้าด้านอาหารที่มีความเสี่ยงต่ำ

การประเมินและตรวจสอบด้านความปลอดภัยของอาหารของคู่ค้า
เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าที่จัดจําหน่ายอาหารมีการปฏิบัติตามกฎหมายอาหารภายในประเทศและสากล รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพด้านอาหารของบริษัท ทางบริษัทจึงได้มีการตรวจติดตามคู่ค้า และแบ่งออกเป็นการตรวจติดตามแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
-
01
การตรวจสอบเบื้องต้น
ดำเนินการก่อนการเซ็นสัญญา การซื้อขายเพื่อตรวจสอบระบบคุณภาพของคู่ค้าเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และคุณภาพด้านอาหารของบริษัท -
02
การตรวจสอบตามปกติ
คู่ค้าที่ได้รับการรับรอง และอนุมัติจากบริษัทแล้วนั้น บริษัทได้กำหนดให้มีการประเมินคู่ค้า และทบทวนตารางการตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง -
03
การตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
การตรวจสอบคู่ค้าด้านอาหารประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการร้องเรียนที่ร้ายแรงเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ หรือมีการตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
สรุปผลจำนวนคู่ค้าที่จัดจำหน่ายให้กับทาง บจ. ไทยแอร์เอเชีย | 2565 | 2566 | 2567 |
---|---|---|---|
จำนวนคู่ค้าที่จัดจำหน่ายอาหารให้กับ บจ. ไทยแอร์เอเชีย | 47 | 37 | 44 |
จำนวนคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก และตรวจประเมินคู่ค้าที่จัดจำหน่ายอาหารให้กับ บจ. ไทยแอร์เอเชีย | 47 | 37 | 38 |
จำนวนคู่ค้าที่มีศักยภาพในการ Go Green และกำลังประยุทต์ใช้ ESG | - | 1 | 3 |
จำนวนคู่ค้าที่รับรอง THSI Thailand Sustainability Investment | - | 3 | 4 |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณดําเนินธุรกิจของคู่ค้าได้ที่ https://www.capitala.com/misc/AAPROF006_Supplier_Code_of_Conduct.pdf